ตำแหน่งหน้าต่างในงานสถาปัตยกรรม เพื่อถ่ายเทอากาศ ให้สภาวะน่าสบาย
หลักการออกแบบช่องเปิด หรือ ตำแหน่งหน้าต่างในงานสถาปัตยกรรม เพื่อถ่ายเทอากาศ ให้สภาวะน่าสบาย และช่วยประหยัดการใช้พลังงานภายในอาคาร หน้าต่าง หรือ ช่องเปิดนั้น ถือเป็นองค์ประกอบสำคัญในการออกแบบอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ถ้าหากอาคารหลังนั้นๆได้ออกแบบหน้าต่างช่องเปิดมาอย่างเหมาะสมก็จะทำให้บรรยากาศภายในอาคารมีความสว่างที่พอดี และมีลมถ่ายเท ระบายอากาศได้อย่างปลอดโปร่ง และช่วยประหยัดการใช้พลังงานไฟฟ้าภายในอาคาร แต่ถ้าหากออกแบบหน้าต่าง หรือช่องเปิดผิดไปจากหลักการออกแบบที่เหมาะสม หรือ ไม่มีความสัมพันธ์สอดคล้องกับบริบทการใช้งานของอาคาร ก็จะทำให้มีบรรยากาศที่ไม่ดี ไม่สามารถระบายอากาศได้อย่างสะดวก จึงทำให้รู้สึกอึดอัด และทำให้เกิดความรู้สึกไม่สบายตัวในระหว่างอยู่อาศัย ซึ่งการจะออกแบบช่องเปิดให้สัมพันธ์กับบริบทอาคาร และมีความเหมาะสมลงตัวกับลักษณะการใช้งาน จะมีหลักเกณฑ์ที่ควรคำนึงดังนี้
ทิศที่ควรหลีกเลี่ยงการเจาะช่องเปิด หรือ ช่องหน้าต่าง
– ในทิศใต้ และทิศตะวันตก สามารถมีหน้าต่าง หรือ ช่องเปิด ไม่ควรเกิน 20% ของพื้นที่ระนาบผนังทั้งหมด
ในด้านทิศใต้ และทิศตะวันตก จะเป็นด้านที่ได้รับผลกระทบจากความร้อนและแสงจ้าค่อนข้างมาก ฉะนั้นการออกแบบตำแหน่งของหน้าต่าง หรือ ช่องเปิดภายในอาคารควรหลีกเลี่ยงการติดตั้งในทิศตะวันให้มากที่สุด
ทิศที่สามารถเจาะช่องเปิด หรือ ช่องหน้าต่าง ได้อย่างเหมาะสม
– ในทิศเหนือ และทิศตะวันออก สามารถมีหน้าต่าง หรือ ช่องเปิด ได้ตั้งแต่ 50-75% ของพื้นที่ระนาบผนังทั้งหมด
สำหรับการติดตั้งหน้าต่างช่องเปิดควรติดตั้งในทิศตะวันออก และทิศเหนือ โดยออกแบบให้หน้าต่าง หรือช่องเปิดที่มีขนาดเท่ากันอยู่ตรงข้ามกันเพื่อให้ลมพัดผ่านถ่ายเทได้ตลอดเวลา ซึ่งช่วยให้บรรยากาศภายในห้องมีความปลอดโปร่ง ให้ความสว่างที่เหมาะสม และไม่ก่อให้เกิดการสะสมเชื้อโรคจากความอับทึบ
การวางตำแหน่งอาคารให้สัมพันธ์กับทิศทางแดด และกระแสลม
เพราะอาคารจะต้องอยู่คู่กับเราไปอีกหลายสิบปี ฉะนั้นควรวางแผนในการออกแบบให้ดีเพื่อให้เกิดสภาวะน่าสบายตลอดอายุการใช้งานของตัวอาคาร
– ทิศตะวันตก และทิศใต้จะได้รับผลกระทบจากแสงแดดที่รุนแรงเป็นเวลา 8-9 เดือนต่อปี เพราะมุมของแสงแดดที่ส่องนั้นเป็นมุมต่ำที่สามารถเข้าสู่อาคารได้ง่าย เพราะฉะนั้นควรหลีกเลี่ยงการสร้างอาคารที่หันไปในทิศตะวันตก และทิศใต้ โดยออกแบบให้พื้นที่ในทิศดังกล่าวเป็นส่วนหลังบ้าน ,ห้องเก็บของ ,ห้องน้ำ ,โถงบันได ,ห้องครัว ,ที่จอดรถ หรือ พื้นที่ซักล้าง
– ทิศเหนือ และทิศตะวันออก จะเป็นทิศที่ได้รับลมมากที่สุด และโดนแสงแดดน้อยที่สุดตามลำดับ จึงเหมาะที่ออกแบบให้พื้นที่ในทิศดังกล่าวเป็นฟังก์ชั่นการใช้งานที่ต้องใช้เวลาอาศัยอยู่เกือบทั้งวัน หรือ เป็นฟังก์ชั่นการใช้งานที่ต้องการความผ่อนคลาย เช่น ห้องนอน ,ห้องนั่งเล่น หรือ ส่วนรับประทานอาหาร
ปลูกต้นไม้ในบริเวณบ้าน
ต้นไม้สามารถช่วยสร้างร่มเงาเพื่อบังแดด และยังช่วยลดความร้อนที่จะเข้าสู่อาคารได้โดยเฉพาะในทิศใต้ และทิศตะวันตก แต่ทว่าในการปลูกต้นไม้ใหญ่ ควรเว้นระยะจากตัวอาคารไม่น้อยกว่า 5 เมตร เพราะว่ารากไม้นั้นสามารถสร้างความเสียหายกับโครงสร้างของอาคารได้
ทำกันสาดเพื่อกรองแสงให้กับหน้าต่างกระจก หรือช่องเปิด
โดยกันสาดในระนาบแนวนอนจะเหมาะสมกับหน้าต่าง ที่อยู่ทางทิศเหนือ และทิศใต้ เพราะสามารถบังแสงอาทิตย์ในช่วงเที่ยงและช่วง บ่ายได้ ส่วนกันสาดในระนาบแนวตั้งเหมาะสมกับหน้าต่าง หรือช่องเปิดที่อยู่ทิศตะวันออก และทิศตะวันตก
ติดตั้งผ้าม่าน หรือ มู่ลี่บริเวณหน้าต่างกระจก
เพื่อป้องกันความร้อนจากแสงอาทิตย์ที่จะเข้าสู่ภายในตัวอาคาร ควรติดตั้งผ้าม่าน หรือ มูลี่กรองแสง เพื่อช่วยลดความร้อน และแสงจ้าได้อย่างเหมาะสม ส่วนการติดฟิล์มกรองแสงที่กระจกหน้าต่างนั้น แม้จะป้องกันความร้อนจากแสงอาทิตย์ได้ดีกว่า แต่ค่าใช้จ่ายสูงกว่าจึงไม่ค่อยเป็นที่นิยม
อุดรอยรั่วตามรอยต่อระหว่างผนังขอบประตู หน้าต่าง
การอุดรอยรั่วตามรอยต่อระหว่างผนังขอบประตูหน้าต่างจะช่วยป้องกันความร้อน และความชื้นจากภายนอกผ่านเข้าไปภายในอาคาร ในกรณีที่ห้องนั้นเป็นห้องปรับอากาศ
ออกแบบตำแหน่งช่องเปิด เพื่อการถ่ายเทอากาศที่ดีในบ้าน
เพราะภูมิอากาศบ้านเราเป็นแบบร้อนชื้น จึงมีหลายปัจจัยจากสิ่งแวดล้อมที่มีความสัมพันธ์กับภาวะอยู่สบายภายในบ้าน เทคนิคการเลือกเปิดช่องเปิดจึงเป็นเรื่องสำคัญที่ทำให้คนในบ้านอยู่สบาย พร้อมกับการประหยัดพลังงานได้อย่างยั่งยืน
สังเกตแสงแดด
ความสว่างคือสิ่งที่เราต้อง
ส่วนในทิศทางอื่น ใช้ช่องเปิดขนาดเล็กลงหน่อย สังเกตให้เหมาะสมกับสัดส่วน
อีกจุดหนึ่งที่หลายบ้านต้อง

เปิดบ้านรับลม
ลมเย็นๆ ต้นทุนจากธรรมชาติที่พร้อมใ
เคล็ดลับอีกข้อเพื่อดึงศักยภาพของลมมาสร้างความ
ดับเบิลวอลุ่ม ช่องเปิดภายในบ้าน
เพราะอากาศร้อนน้ำหนักเบา จึงลอยตัวจากที่ต่ำขึ้นสู่ท
นอกจากประโยชน์ในเรื่องอากา
ออกแบบช่องเปิด ประตู-หน้าต่าง อย่างไร ให้บ้านอยู่สบายที่สุด
ส่วนที่สำคัญมากสำหรับการทำบ้านให้อยู่สบาย คือช่องเปิด นั่นก็เพราะเป็นพื้นที่ที่อนุญาตให้สภาพแวดล้อมภายนอก ทั้งลม แสงแดด เข้ามาหมุนเวียนสร้างสุขภาวะที่ดีอย่างหน้าต่าง และเป็นพื้นที่เชื่อมต่อระหว่างภายนอกและภายในบ้านอย่างประตู เมื่อสิ่งแวดล้อมภายนอกและภายในบ้านดี ชีวิตก็อยู่สบาย ช่องเปิดจึงเป็นส่วนประกอบสำคัญของบ้านที่ควรให้ความใส่ใจไม่แพ้ทุกส่วนของบ้าน
สำหรับบ้านเมืองไทยในเขตร้อนแล้ว ทิศทางเป็นเรื่องสำคัญมากที่สุด ทิศตะวันตกอ้อมใต้คือทิศที่พระอาทิตย์เดินทาง แดดจึงร้อนทั้งวัน ลมหน้าหนาวตะวันออกเฉียงเหนือ ลมหน้าฝนตะวันตกเฉียงใต้ เมื่อนำมาแมทช์กับทิศทางบนที่ตั้งของบ้านแล้วก็จะพอทราบคร่าวๆ ว่า เราควรจะเปิดหน้าต่างหรือประตูออกทางทิศไหน หน้าต่างทางทิศไหนที่ควรมีกันสาดยื่นออกไปกันฝนสาดและแดดแรง
ทิศทางของช่องเปิด
ทิศทางที่แนะนำสำหรับช่องเปิดบานประตูหน้าต่าง นั่นคือทิศทางเหนือและใต้ ออกแบบภายใน สามารถเปิดช่องเปิดขนาดใหญ่สำหรับรับแสงแดดและลม ช่องเปิดที่เลือกควรเป็นหน้าต่างประเภทที่เปิดได้กว้างอย่างบานสะวิงหรือบานเลื่อน แต่อย่าลืมว่าลมมีทางเข้าจำเป็นต้องมีทางออก เพราะฉะนั้นในหนึ่งห้องควรมีช่องเปิดสองฝั่งที่ตรงกันเพื่อให้ลมพัดผ่านได้ดี รวมทั้งเรื่องขนาด หากมีความจำเป็นต้องเปิดออกในทิศทางที่ไม่มีลมหรือแดดแรง อาจใช้การเปิดช่องขนาดเล็กเพื่อให้แสงสว่างส่องถึง ก็ช่วยสร้างสุขลักษณะที่ดีให้กับบ้านได้
ช่องเปิดแบบบานฟิกซ์
ส่วนใหญ่ที่ทุกคนนึกถึงเวลาพูดถึงช่องเปิดนั่นคือบานหน้าต่างแบบเปิดเชื่อมต่อได้กับสิ่งแวดล้อม แต่กรอบบานหน้าต่างแบบบานฟิกซ์ก็มีประโยชน์ไม่แพ้กับบานเปิดได้ เพราะเคล็ดลับอยู่สบายของพื้นที่ก็มีบานฟิกซ์เข้ามาเป็นพระเอกคนสำคัญ
อย่างในพื้นที่ที่เข้าถึงได้ยากอย่าง อย่างผืนผนังระดับสูงใต้หลังคา ซอกมุม หรือระดับพื้นของอาคารชั้นบนที่เกิดอันตรายได้หากใช้ช่องเปิดแบบเปิดได้ กรอบบานหน้าต่างแบบบานฟิกซ์เข้ามาช่วยทำให้ห้องหรือพื้นที่ดูโปร่งโล่งขึ้นจากทัศนวิสัยที่เปิดออกสู่ภายนอก แสงแดดที่เข้ามาสร้างบรรยากาศอบอุ่น ไม่อึดอัด และยังมีส่วนช่วยเติมดีไซน์ให้บ้านไม่ทึบตันจนเกินไป
บานกระทุ้ง บานเกล็ด ระบายอากาศ
หน้าที่สำคัญของช่องเปิดคือการระบายอากาศ การมีบานเปิดที่เปิดได้อย่างปลอดภัยจึงเป็นทางเลือกที่ดี ทั้งบานกระทุ้งที่สามารถผลักเปิดออกเหมือนเป็นกันสาดเล็กๆ ให้กับช่องเปิด แม้ฝนจะตกก็ยังระบายอากาศและรับลมเย็นได้ หรือบานเกล็ดที่เปิดสำหรับระบายอากาศได้ตลอดทั้งวัน